การวิเคราะห์ชุมชน

การวิเคราะห์ชุมชนจากเวทีประชาคม

จากการดำเนินงานจัดทำเวทีประเมินสถานะ การพัฒนาหมู่บ้าน ซึ่งชุมชนได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากข้อมูลชุมชน ที่มีอยู่ เช่น ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2) และข้อมูลจากการจัดเก็บโดยชุมชน เพื่อนำไปสู่กระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล วางแผนชุมชน และกำหนดทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน มีรายละเอียด ดังนี้



การประเมินศักยภาพหมู่บ้าน
      ในการดำเนินงานหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต บ้านละทาย หมู่ที่ 8
ตำบลละทาย  อำเภอกันทรารมย์  จังหวัดศรีสะเกษ  ใช้ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2558 และปี 2559 และข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.๒ค) ปี 2556 และปี 2558 มาวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในหมู่บ้าน รายละเอียด ดังนี้

คุณภาพชีวิตของประชาชนบ้านละทายจากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
. ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี ๒๕๕8 บ้านละทาย หมู่ที่ 8 ไม่มีตัวชี้วัดที่ตกเกณฑ์ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)
รายได้
ปี 2558 บ้านละทาย หมู่ที่ 8  มีรายได้รวมทั้งสิ้น จำนวน 25,049,700 บาทต่อปี  รายได้เฉลี่ย 73,245 บาท ต่อคนต่อปี รายได้จากอาชีพหลัก 18,671,500 บาท เฉลี่ยครัวเรือนละ 188,604 บาท และถ้าคิดเฉลี่ยต่อคนต่อปี ประชาชนบ้านละทายมีรายได้หลักเฉลี่ยคนละ 54,595บาท รองลงมาเป็นรายได้จากอาชีพรอง รวม 2,567,200 บาท เฉลี่ยครัวเรือนละ 25,931 บาท หรือ คนละ 7,506 บาทต่อปี
รายจ่าย
บ้านละทาย หมู่ที่ 8 มีรายจ่ายรวมทั้งสิ้น จำนวน 18,091,100 บาทต่อปี รายจ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อปี จำนวน 58,528 บาท ส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายด้านการประกอบอาชีพ ได้แก่ ค่าพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ค่าปุ๋ย ค่าจ้างแรงงาน ค่าน้ำมัน ค่าเช่าเครื่องจักรฯ จำนวน 4,367,100 บาทต่อปี หรือเฉลี่ยครัวเรือนละ 44,112 บาทต่อปี เฉลี่ยคนละ 12,769 บาทต่อปี รองลงมาคือรายจ่ายจากการชำระหนี้สิน จำนวน 3,690,000 บาทต่อปี เฉลี่ยครัวเรือนละ 37,273 บาทต่อปี เฉลี่ยคนละ 10,789 บาทต่อปี

2. ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี ๒๕๕9 บ้านละทาย หมู่ที่ 8 มีตัวชี้วัดที่ตกเกณฑ์ จำนวน ๒ ตัวชี้วัด เพิ่มขึ้นจากปี 2558 จำนวน 2 ตัวชี้วัด คือตัวชี้วัดที่ 23 คนในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่าคนละ 30,000 บาทต่อปี และตัวชี้วัดที่ 26 คนในครัวเรือนครัวเรือนไม่สูบบุหรี่ รายละเอียด ดังนี้
1) ตัวชี้วัดที่ 23 คนในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่าคนละ 30,000 บาทต่อปี จากที่สำรวย ทั้งหมด 99 ครัวเรือน ตกเกณฑ์ จำนวน 1 ครัวเรือน คือ นางจันทร์  เชิดศิริ บ้านเลขที่ 11/8 หมู่ที่ 8 ตำบลละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ มีรายได้เฉลี่ย 27,500 บาทต่อคนต่อปี คิดเป็นร้อยละ 1.01
2) ตัวชี้วัดที่ 26 คนในครัวเรือนครัวเรือนไม่สูบบุหรี่ จำนวนที่สำรวจ ทั้งหมด 342 คน ตกเกณฑ์จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 7.60 เมื่อเทียบกับข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
รายได้
ปี 2559 บ้านละทาย หมู่ที่ 8  มีรายได้รวมทั้งสิ้น จำนวน 28,822,353 บาทต่อปี  รายได้เฉลี่ย 91,928 บาท ต่อคนต่อปี รายได้จากอาชีพหลัก 20,030,500 บาท เฉลี่ยครัวเรือนละ 202,328 บาท และถ้าคิดเฉลี่ยต่อคนต่อปี ประชาชนบ้านละทายมีรายได้หลักเฉลี่ยคนละ 58,569 บาท รองลงมาเป็นรายได้จากอาชีพรอง รวม 3,925,200 บาท เฉลี่ยครัวเรือนละ 39,648 บาท หรือ คนละ 11,477 บาทต่อปี
รายจ่าย
บ้านละทาย หมู่ที่ 8 มีรายจ่ายรวมทั้งสิ้น จำนวน 17,811,750 บาทต่อปี รายจ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อปี จำนวน 55,678  บาท ส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายด้านการอุปโภค บริโภคที่จำเป็น  จำนวน 8,529,000 บาทต่อปี หรือเฉลี่ยครัวเรือนละ 86,152 บาทต่อปี เฉลี่ยคนละ 24,939 บาทต่อปี รองลงมาคือรายจ่ายด้านการประกอบอาชีพ ต้นทุนการผลิต จำนวน  4,551,600 บาทต่อปี เฉลี่ยครัวเรือนละ 45,976 บาทต่อปี เฉลี่ยคนละ 13,309 บาทต่อปี

คุณภาพชีวิตของประชาชนบ้านละทายจากข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค.)
          1. ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2 ค) ปี 2556
              จากข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2 ค) ปี 2556 บ้านละทาย จัดเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 3 มีปัญหามาก 2 ตัวชี้วัด มีปัญหาปานกลาง 6 ตัวชี้วัด และมีปัญหาน้อย 23 ตัวชี้วัด
              ตัวชี้วัดที่มีปัญหามาก  2  ตัวชี้วัด  ประกอบด้วยด้านสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจ จำนวน 1 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 11 ผลผลิตจากการทำไร่ และด้านการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของชุมชน คือ ตัวชี้วัดที่ 25 การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชน 
    ตัวปัญหาที่มีปัญหาปานกลาง 6 ตัวชี้วัด ประกอบด้วยด้านโครงสร้าง จำนวน 1 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 7 การติดต่อสื่อสาร ด้านสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจ จำนวน 2 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 8 การมีงานทำ และตัวชี้วัดที่ 12 ผลผลิตจากการทำการเกษตรอื่น ๆ  ด้านสุขภาวะและอนามัย คือ ตัวชี้วัดที่ 17 การกีฬา ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ ตัวชี้วัดที่ 28 การปลูกป่าหรือไม้ยืนต้น ด้านความเสี่ยงของชุมชนและภัยพิบัติ คือ ตัวชี้วัดที่ 32 ความปลอดภัยจากภัยพิบัติ

          2. ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2 ค) ปี 2558
              จากข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2 ค) ปี 2558 บ้านละทาย จัดเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ  3  มีปัญหามาก  2  ตัวชี้วัด มีปัญหาปานกลาง  5  ตัวชี้วัด และมีปัญหาน้อย  23  ตัวชี้วัด     
              ตัวชี้วัดที่มีปัญหามาก จำนวน 2 ตัวชี้วัด ประกอบด้วยด้านสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจ จำนวน 1 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 11 ผลผลิตจากการทำไร่ และด้านการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของชุมชน คือ ตัวชี้วัดที่ 25 การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชน
              ตัวชี้วัดที่มีปัญหาปานกลาง  5  ตัวชี้วัด ประกอบด้วยด้านโครงสร้าง จำนวน 2 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 5 การไฟฟ้า ตัวชี้วัดที่ 7 การติดต่อสื่อสาร ด้านสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจ จำนวน 1 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 12 ผลผลิตจากากรทำการเกษตรอื่นๆ  ด้านสุขภาวะและอนามัย จำนวน 1 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 17 การกีฬา ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 1 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 28 การปลูกป่าหรือไม้ยืนต้น

การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน เพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาหมู่บ้าน
จากการจัดเวทีประชาคมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในชุมชน ทำให้ทราบ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และปัญหาอุปสรรคของ และความต้องการของชุมชน ดังนี้
1.จุดแข็งของหมู่บ้าน
1) ประชาชนมีรายได้เสริมตลอดทั้งปี
2) ประชาชนในหมู่บ้านไม่มีการว่างงาน
3) มีทรัพยากรบุคคลในหมู่บ้าน(มีข้าราชการมากเป็นที่ปรึกษาให้หมู่บ้านได้)
4) ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน
5) หมู่บ้านมีการบริหารจัดการชุมชนที่เข้มแข็งและสามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนได้
6) มีการรวมกลุ่มกันหลากหลาย
7) ประชาชนดำรงชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
8) ชุมชนมีการสืบสานงานประเพณี ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
9) ประชาชนในหมู่บ้าน มีการทำกิจกรรมลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในครัวเรือน ปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
10) มีศูนย์เรียนรู้ ICT ที่สามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ของหมู่บ้าน
2. จุดอ่อนของหมู่บ้าน
1) ขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง
2) การใช้เงินทุนที่มีอยู่ในหมู่บ้านไม่เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
3) ประชาชนยังไม่ให้ความสำคัญของการดูแลและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในเรื่องของการใช้สารเคมีในการผลิต
4) การส่งเสริมอาชีพยังขาดความต่อเนื่อง
5) ประชาชนมีภารกิจในการประกอบอาชีพมากไม่มีเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมของส่วนรวมอย่างต่อเนื่อง
6) ประชาชนบางส่วนไม่มีความรู้ในการใช้งานระบบสารสนเทศชุมชน ของศูนย์ ICT ชุมชน
3. โอกาสของหมู่บ้าน
1) มีการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
2) หมู่บ้านเป็นแหล่งผลิตพืชเกษตรปลอดภัย
3) ราคาสินค้าทางการเกษตรสูงขึ้นโดยเฉพาะข้าวเปลือก
4) มีแหล่งเงินทุนสนับสนุนทางด้านผลิต
5) นโยบายของรัฐบาล เช่น โครงการตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของจังหวัด,โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นต้น
6) การรณรงค์การทำเกษตรปลอดสารพิษ
7) การสนับสนุนจากหน่วยงานภาคีการพัฒนามีความต่อเนื่อง
4. อุปสรรคของหมู่บ้าน
1) โครงการและกิจกรรมที่รัฐบาลสนับสนุนบางอย่างไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
2) งบประมาณในการจัดทำโครงการไม่ต่อเนื่อง ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ขาดการต่อยอด

การวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนโดยโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศชุมชน CIA : Community Information Radar Analysis
          สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอกันทรารมย์ จัดกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ณ ศาลาประชาคมบ้านละทาย หมู่ที่ 8 ตำบลละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ กิจกรรมดังกล่าวได้สร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของข้อมูล การนำสารสนเทศจากข้อมูล จปฐ. ข้อมูล กชช.2ค. และแผนชุมชน นำมาวางแผนในการขับเคลื่อนพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ ก้าวทันข้อมูลข่าวสารและสามารถนำสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต ปลูกฝังกระบวนการคิดสร้างกระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนจากข้อมูลสารสนเทศชุมชน

การวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหา

ที่
ปัญหา
สาเหตุ/ที่มาของปัญหา
แนวทางแก้ไข
1

  
2


3



  
4.




 5.




  6.


  

  7.




8.







 9.
คนในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยน้อยกว่า 30,000 (จปฐ.ตัวชี้วัดข้อ 23)

ขาดน้ำเพื่อการเกษตร


ขาดการออกกำลังกาย/ขาดการส่งเสริมด้านกีฬา


  
ขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน



  
ขาดการรวมกลุ่มของประชาชน

  


ดินขาดคุณภาพ


  

ปลูกพืชไม่คุ้มทุน




 ปัญหาหนี้สิน







 ปัญหาวัยรุ่นตีกัน
ครัวเรือนมีแต่คนชรา

  
ขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร


ไม่เห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย
ขาดสถานที่ออกกำลังกาย

   
ประชาชนไม่สนใจในงานส่วนรวม
ภารกิจในการประกอบอาชีพไม่เอื้ออำนวยในการร่วมกิจกรรมของส่วนรวม

ไม่เห็นความสำคัญของการรวมกลุ่มทางด้านการเกษตร
   


ดินขาดอินทรีย์วัตถุ  ขาดการบำรุงดูแลรักษา  ใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตทำให้ดินเสื่อมสภาพ

  
ปัจจัยการผลิตราคาสูงขึ้น
ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำไม่คุ้มทุน


-ขาดวินัยในการใช้เงิน
ไม่มีการวางแผนทางด้านการเงิน 
-การปลูกพืชไม่คุ้มทุนทำให้เกิดหนี้สิน
  



เกิดจากค่านิยมของกลุ่มวัยรุ่น
การสงเคราะห์

  
ขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตร


ส่งเสริมการออกกำลังกาย
สร้างลานกีฬาเอนกประสงค์ในหมู่บ้าน
อบต.สนับสนุนอุปกรณ์กีฬาและจัดแข่งขันกีฬาในโอกาสต่างๆ เพิ่มขึ้น

สร้างจิตสำนึกในงานส่วนรวม
จัดเวลาให้เหมาะสมในการจัดกิจกรรมส่วนรวมเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมของหมู่บ้านได้

ส่งเสริมการรวมกลุ่ม
พัฒนากลุ่มที่มีอยู่เดิมให้มีความเข้มแข็ง และรณรงค์การสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มเพิ่มเติม

รณรงค์การใช้ปุ๋ยชีวภาพในการผลิต  รณรงค์การไถกลบตอซังข้าวเพื่อเป็นการบำรุงรักษาสภาพดิน  การปลูกพืชคลุมดิน

หาตลาดกลางทางการเกษตร
ลดต้นทุนทางการผลิตโดยการส่งเสริมให้มีการทำปุ๋ยหมัก       ปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เอง

 -รณรงค์การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์
-ส่งเสริมการจัดทำบัญชีรับ-จ่ายครัวเรือน
-ลดต้นทุนการผลิตโดยการอบรมและส่งเสริมการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เอง

-จัดระเบียบวินัยในหมู่บ้าน
สร้างจิตสำนึกความสามัคคีในหมู่คณะ
-โครงการเข้าวัดพัฒนาจิตใจ
จัดตั้งกลุ่มอาชีพเยาวชนเพื่อให้รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม  มีวินัยและเป็นการสร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะ

ความต้องการของชุมชน
1. ต้องการราคาผลผลิตที่สูงขึ้น
2. ต้องการส่งเสริมอาชีพให้คนในชุมชนมีอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้คนในชุมชน
3. ต้องการบุคลากรในการส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มองค์กรแกนหลักสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน
4. ต้องการความรู้ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ เพื่อใช้ประโยชน์ฯ
ให้มากขึ้น
5. ต้องการขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตร เข้าไปในแปลงนา เพื่อสูบน้ำจากบ่อบาดาล เป็นการลด
ต้นทุนการผลิต

คำขวัญของหมู่บ้าน
          “ละทายถิ่นคนงาม เรืองนามนักปราชญ์ ความสามารถเยี่ยม พริกหอมกระเทียมเลื่องลือ ยึดถือคุณธรรม งามล้ำประเพณีบุญบั้งไฟ มีพระใหญ่พุทธละทายชัยมงคล”

วิสัยทัศน์ของหมู่บ้าน
         “สามัคคี  พัฒนา  มีอาชีพมั่นคง”

ระเบียบวาระแห่งชุมชนบ้านละทาย
          รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข เพื่อความอยู่ดีกินดี มีสุขของประชาชน ซึ่งมีวิธีการ แนวทางในการแก้ไขปัญหาระดับชุมชน โดยการใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นให้ประชาชนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมแก้ไขปัญหา ร่วมติดตามประเมินผล เพื่อพัฒนาตนเองและหมู่บ้านให้เข้มแข็งต่อไป นั้น
          เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนในหมู่บ้านมีการตื่นตัวและเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและร่วมพัฒนาชุมชนของตนเองอย่างจริงจัง จึงได้ประกาศเป็นวาระแห่งชุมชนเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านให้เกิดผลเป็นรูปธรรม  ดังนี้
          1. ปรับแผนชุมชนและใช้แผนชุมชนในการพัฒนาชุมชน
          2. พัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
          3. การแก้ไขปัญหายาเสพติด
          4. การแก้ไขปัญหาความยากจน
          5. การอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น
          6. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น